пї
การปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ
เมื่อคุณพ่อคุณแม่เริ่มแก่ตัวลง การมอง การเดิน หรือการทำกิจวัตรประวันอาจจะเชื่องช้าและลำบากขึ้นตามวัย จึงต้องมีการปรับปรุงบ้านหรือห้องต่างๆ ที่ผู้สูงอายุใช้งาน ให้เหมาะสมเพื่อความปลอดภัยของผู้สูงอายุและเพื่อให้ผู้สูงอายุอยู่ร่วมกับคนในบ้านได้อย่างราบรื่น
วันนี้เราจะแนะนำการปรับปรุงห้องต่างๆ ที่ผู้สูงอายุน่าจะได้ใช้บ่อยที่สุด นั่นก็คือ ห้องนอน ห้องน้ำ และห้องนั่งเล่นและห้องทานข้าว
ห้องนอน
ห้องนอนของผู้สูงอายุควรจะอยู่ชั้นล่างของบ้าน (ในกรณีที่บ้านไม่มีลิฟต์) เพื่อสะดวกในการเข้า-ออก เนื่องจากผู้สูงอายุข้อเข่าจะเริ่มเสื่อม จึงอาจจะไม่สะดวกในการขึ้น-ลงบันไดเท่าไหร่นัก เหล่านี้คือ checklist ที่จะช่วยให้ท่านเตรียมห้องนอนได้เหมาะสมกับผู้สูงอายุมากที่สุด
- เตียงมีความสูงไม่ประมาณข้อพับเข่า หรือ 40 ซม. เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุสามารถลุกขึ้นนั่งแล้ววางเท้าถึงพื้นได้ และยังสามารถเทียบรถเข็น (wheelchair) ได้พอดีอีกด้วย
- พื้นที่รอบเตียงควรมีพื้นที่ห่างจากเตียงทั้งสามด้านประมาณ 90 ซม.
- มีราวจับข้างเตียงเพื่อช่วยการพยุงตัวลุกขึ้น
- ฟูกไม่ควรแข็งหรืออ่อนเกินไป เนื่องจากกระดูกสันหลังของผู้สูงอายุจะเริ่มเสื่อมแล้ว
- ผู้สูงอายุที่เสี่ยงมีแผลกดทับ (ส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่นอนติดเตียง) อาจมีการใช้ที่นอนลมปูทับฟูก เพื่อลดการเสียดสีระหว่างที่นอนกับผิวผู้สูงอายุ
- ตู้เสื้อผ้า ราวแขวนผ้าควรอยู่ในระยะที่แขนสามารถหยิบถึงได้โดยที่ไม่ต้องปีนหรือเขย่ง หรืออาจะเลือกใช้ราวที่สามารถปรับระดับความสูงได้
- ไฟส่องสว่าง ควรมีแสงสว่างเพียงพอ และมีสวิตช์อยู่ในตำแหน่งที่สามารถเอื้อมถึงได้จากที่นอน
- หากจำเป็นต้องมีการใช้พรม ควรใช้พรมที่เป็นแบบผิวแข็งที่ม้วนตัวยาก จะช่วยลดอันตรายจากการสะดุดล้มได้มากขึ้น
- หากจำเป็นต้องมีการใช้พรม ควรใช้พรมที่เป็นแบบผิวแข็งที่ม้วนตัวยาก จะช่วยลดอันตรายจากการสะดุดล้มได้มากขึ้น
ห้องน้ำ
น่าจะเป็นห้องที่ได้ใช้งานบ่อยเป็นอันดับต้นๆ ของบ้านเลยก็ว่าได้ เนื่องจากผู้สูงอายุมักจะเข้าห้องน้ำบ่อย Checklist ของห้องน้ำที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุมีดังนี้
- ทางเดินไปห้องน้ำไม่มีสิ่งกีดขวางและมีแสดงสว่างเพียงพอ
- ขนาดความกว้างห้องน้ำที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 150-200 ซม.
- พื้นห้องน้ำเรียบ และไม่ลื่น ไม่มีขั้นต่างระดับ หากมีพื้นต่างระดับควรปรับให้เป็นทางลาด
- โถส้วมไม่ควรเป็นแบบนั่งยอง เพราะผู้สูงอายุข้อเข่าจะเริ่มเสื่อม จึงทำให้นั่งลำบาก
- มีราวจับข้างโถส้วมเพื่อช่วยพยุงเวลาลุก-นั่งโถส้วม
- ติดตั้งกริ่งฉุกเฉินในจุดที่สามารถเอื้อมถึงได้สะดวก (สามารถหาซื้อและติดตั้งเองได้)
- อ่างล้างมือไม่ควรสูงหรือต่ำเกินไปนัก (วัดจากความสูงของผู้ใช้งาน) และหากเป็นไปได้ควรมีราวจับเพื่อช่วยการทรงตัวด้วย
- ก๊อกน้ำควรเป็นแบบที่โยกเปิดได้ง่าย เนื่องจากจะผ่อนแรงมากกว่าแบบหมุนรุ่นเก่า
- มีที่นั่งหรือเก้าอี้สำหรับอาบน้ำ หรือซื้อสำเร็จรูปมาวางได้
ห้องทานข้าวและห้องนั่งเล่น
เป็นห้องที่ทุกคนในบ้านจะได้ทำกิจกรรมและใช้ร่วมกัน จึงควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้
- โต๊ะทานข้าว ควรสูงพอเหมาะ และสามารถนำรถเข็นเทียบได้ หรือสูงประมาณ 75 ซม.้
- เก้าอี้ทานข้าวควรมีพนักพิงสูงและมีที่เท้าแขน และสูงพอดีกับโต๊ะ้
- ชุดรับแขกควรใช้เก้าอี้ทรงสูงเนื้อแน่นที่มีเบาะนั่ง และควรมีที่เท้าแขนสำหรับผู้สูงอายุอีกด้วย้
- โต๊ะกลางชุดรับแขกไม่มีมีเหลี่ยมมุม หรือติดกันกระแทกเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ้
องค์ประกอบอื่นๆ ภายในบ้านอาจจะต้องปรับเปลี่ยนได้ เช่น
- ประตูควรมีความกว้างมากกว่า 90 ซม. เพื่อให้ไม้ค้ำช่วยเดินหรือรถเข็นสามารถผ่านไปได้ และหากเป็นประตูบานเลื่อนก็อาจจะช่วยผ่อนแรงผู้ใช้งานได้บ้าง
- ทางต่างระดับรอบตัวบ้านไม่ควรเป็นระดับที่สูงเกินไป ถ้าเป็นไปได้ควรมีทางลาดด้วย
การปรับปรุงบ้านให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้สูงอายุ จะทำให้ผู้สูงอายุและวัยหนุ่มสาวในบ้านอยู่ร่วมในบ้านหลังเดียวกันได้อย่างปกติสุข อีกทั้งยังจะสามารถช่วยลดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งแล้ว ผู้สูงอายุอาจจะต้องการการดูแลที่มากยิ่งขึ้น จึงต้องมองหาสถานดูแลผู้สูงอายุที่มีมาตรฐานและมีผู้ดูแลที่มีความรู้และประสบการณ์ และที่สำคัญต้องอยู่ใกล้บ้านเพื่อจะได้ไปเดินทางไปหาได้บ่อยๆ ทำให้ผู้สูงอายุไม่รู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก “คู่มือบ้านใจดี” จาก สสส.